วิธีรักษา-ป้องกัน“ท้องเสีย-ท้องร่วง” ที่ถูกต้อง
บางครั้งหากมีอาการท้องเสีย ท้องร่วงที่ไม่หนักมาก อาจสามารถรักษาได้ด้วยตัวเอง มีคำแนะนำจาก รศ. นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน
การรักษาและป้องกันอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่ถูกต้อง
อาการอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสโรต้า ไวรัสโนโร่ และจากการติดเชื้อแบคที่เรีย เช่น เชื้อบิด เชื้ออหิวาตกโรค หรืออาจเกิดจากสารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ
เชื้อไวรัสโรต้าเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุ 5 ขวบปีแรกและมีวัคซีนในการป้องกันโรค ผู้ป่วยมักมีอาการอาเจียนนำมาก่อนจะเกิดอาการท้องเสียอาจมีไข้ต่ำๆ และอาการปวดท้องร่วมด้วย
อาการอุจจาระร่วงมักดีขึ้นได้เองภายใน 3-5 วัน
การรักษาอาการท้องร่วง
- ควรปรับเปลี่ยนเรื่องการการรับประทานอาหารและการดื่มนม เน้นกินอาหารจำพวกแป้ง ลดอาหารจำพวกโปรตีน และหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นเส้นใย (ผักและผลไม้) ดื่มนมได้ตามปกติแต่ลดปริมาณลงและดื่มบ่อยขึ้น
- การดื่มน้ำเกลือแร่ มีความจำเป็นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ
- ผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด มีไข้สูง หรือมีอาการขาดน้ำ ควรพบแพทย์
การป้องกันอาการท้องร่วง
- ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังใช้ห้องน้ำ
- รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด
- วัคซีนโรต้าช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า เป็นวัคซีนพื้นฐานที่ใช้หยอดปากสำหรับเด็กขวบปีแรก
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :รศ. นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ภาพ :iStock