เข้าพรรษา 2566 ตักบาตรดอกเข้าพรรษา สระบุรี วัดพระพุทธบาท

   ไหว้พระกันที่ วัดพระพุทธบาท สระบุรี ใน เทศกาลเข้าพรรษา ชวนสายบุญไปร่วม งานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา 2566 จะจัดขึ้นใน วันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 นี้ค่ะ ซึ่งเป็นการจัดงานประเพณีแห่งเดียวในไทย ตามเรามารู้จัก ประวัติประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา
     วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร หรือ วัดพระพุทธบาท สระบุรี ตั้งอยู่ที่ ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ค่ะ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2167 สมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยา โดยภายในวัดประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทที่ประทับอยู่บนแผ่นหิน ที่มีกว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11 นิ้ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น 1 ใน 5 รอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์ตามตำนาน

นอกจาก วัดพระพุทธบาท สระบุรี จะเป็นวัดสำคัญที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทแล้ว ที่นี่ยังมีประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานหลายๆ ประเพณี ทั้ง ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท และ ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ซึ่งจะจัดขึ้นในทุกๆ ปี 

  ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท สระบุรี ค่ะ โดยจะจัดขึ้นในวันเข้าพรรษา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี โดยมีความเป็นมาคือ ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะมีดอกไม้ท้องถิ่นชนิดหนึ่งซึ่งจะออกดอกในช่วงเวลานี้ ชาวบ้านจึงได้เก็บดอกไม้มาถวายพระสงฆ์ และเรียกชื่อกันว่า “ดอกเข้าพรรษา” ค่ะ โดยมาจากช่วงเวลาที่ดอกไม้บานในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาพอดี

 ทำให้ในทุกๆ ปี ชาวบ้านจะเก็บดอกเข้าพรรษามาถวายพระสงฆ์ เพื่อนำไปสักการะรอยพระพุทธบาทนั่นเอง โดยในขณะที่พระสงฆ์เดินขึ้นบันไดเพื่อที่จะนำดอกเข้าพรรษาไปนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้น ชาวบ้านก็จะนำขันน้ำ หรือภาชนะใส่น้ำลอยด้วยดอกพิกุล นั่งรออยู่ตามขั้นบันไดเพื่อคอยที่จะล้างเท้าให้แก่พระสงฆ์ ด้วยความเชื่อที่ว่า จะเป็นการชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไปค่ะ

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ สมัยพุทธกาล

     ประเพณีตักบาตรดอกไม้ นั้นมีตำนานสืบกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีเรื่องเล่าว่า นายสุมนมาลาการ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ เป็นผู้มีหน้าที่นำดอกมะลิไปถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ 8 ทะนาน ทุกวัน และจะได้ทรัพย์วันละ 8 กหาปณะ

    ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ขณะที่นายสุมนมาลาการกำลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง ประจวบกับเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พอดี เขาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงถวายดอกไม้ ที่จะนำไปถวายพระเจ้าพิมพสารโดยมีความคิดว่า แม้จะต้องตายด้วยโทษประหารก็ยอม

 ชาวเมืองทราบดังนั้นจึงพาการโห่ร้องสรรเสริญเป็นนายสุมนมาลาการอันมาก มีเพียงภรรยาของเขาที่ไม่พอใจ ภรรยาจึงนำความนั้นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร แต่พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน นอกจากจะไม่โกรธแล้ว ยังนำความนี้กราบทูลพระพุทธเจ้าอีกที 

    พระพุทธเจ้าได้กล่าวสรรเสริญนายสุมนมาลาการ ทำให้นายสุมนมาลาการได้รับของพระราชทานจากพระเจ้าพิมพิสารถึง 8 ชนิด คือ ช้าง ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด ทรัพย์อีก 8 พันกหาปณะ และบ้านส่วยอีก 8 ตำบล ครั้นกลับถึงวัด พระอานนท์ได้กราบทูลผลบุญที่นายสุมนมาลาการจะพึงได้รับ พระพุทธองค์ตรัสว่า นายสุมนมาลาการได้สละชีวิตบูชาพระองค์ในครั้งนี้ จักไม่ได้ไปเกิดในนรกตลอดแสนกัลป์

วันที่ 30 กรกฎาคม  2566

  • 07.30 น. จัดพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
  • 09.30 น. พิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จำนวน 7 แห่ง

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 

  • 10.00 น. ช่วงเช้าพิธีถวายเทียนพระราชทาน ณ พระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
  • 15.00 น. จัดขบวนแห่พยุหยาตรา ขบวนรถบุปผชาติ ขบวนวัฒนธรรม ขบวนอัตลักษณ์ประเพณี ขบวนชาติพันธุ์ การแสดงต่างๆ และพิธีเปิดงาน 

วันที่ 1-2  สิงหาคม 2566 

  • 09.00 น  และ 15.00 น. พิธีตักบาตรดอกเข้าพรรษา และล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

อ้างอิงข้อมูล http://www.saraburi.go.th และ https://thainews.prd.go.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า