เตือนภัย “วัยทำงาน” เสี่ยง “กระเพาะอาหารเรื้อรัง”

เตือนวัยทำงานควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ เพื่อป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังในอนาคตได้

พฤติกรรมเสี่ยงกระเพาะอาหารเรื้อรัง

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันในกลุ่มวัยทำงาน มักเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะมากกว่ากลุ่มอื่น สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมวัยทำงานที่เร่งรีบ  มีความเครียด ความกังวล ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ยาลดการอักเสบเป็นประจำ อีกทั้ง การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคน ส่งผลทำให้เกิด โรคกระเพาะได้

อาการของโรคกระเพาะอักเสบ

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคกระเพาะนั้นสังเกตได้ ดังนี้ 

  • อาการปวดแสบ ปวดตื้อ 
  • จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ 
  • อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ สามารถเกิด ก่อน-หลังรับประทานอาหารได้
  • คลื่นไส้ อาเจียน และอิ่มง่าย 

Advertisement

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 
  2. อย่าปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3 ชั่วโมง 
  3. รับประทานอาหารจำนวนน้อยๆ ย่อยง่าย 
  4. ในแต่ละมื้อควรหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด รสเปรี้ยว อาหารหมักดอง งดเครื่องดื่มกาแฟ ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลมเพราะมีแก๊สมากกระเพาะขยายตัวทำให้ปวดมากขึ้นและกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย
  5. งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) 
  6. หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กรดออกมากตามธรรมชาติ เมื่อกรดออกมากจะสร้างแก๊สมาก กระเพาะจะขยายและเกร็งตัวทำให้มีอาการปวดท้องมากกว่าปกติ 
  7. หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการ ปวดท้องรุนแรง น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี

ภาพ :iStock

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า